22 พฤษภาคม 2556

แนวคิดละลายพฤติกรรม (เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร)


แนวคิดละลายพฤติกรรม
กิจกรรมละลายพฤติกรรมคืออะไร   
        กิจกรรมละลายพฤติกรรม  คือ  กระบวนการเชิงจิตวิทยาที่อออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสเปิดใจ ทำลายกำแพงกั้นความสุขของการอยู่ร่วมกัน  แสดงความเป็นตัวเอง  แสดงตัวตน ทำความรู้จักและเปิดเผยตัวเองออกมาให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้รู้จักกันมากขึ้น ถือเป็นกิกรรมเริ่มต้นที่ต้องทำก่อนเริ่มกิจกรรมอืนๆ
ทำไมจึงต้องละลายพฤติกรรม
         เป็นธรรมชาติบุคคล  เมื่อบุคคลได้เข้ามาสู่สถานที่ใหม่หรือสังคมใหม่  มักจะสร้างกำแพงของตัวเองเพื่อป้องกันตัวเอง ไม่เปิดตัวเองสู่สั่งคมใหม่ รู้สึกไม่ปลอดภัย  ปฏิเสธการแสดงความคิดเห็น ไม่เชื่อมั่น ฯลฯ   หรือบางครั้ง เหตุการณ์ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ไม่เคลื่อนไหว บางสภาพแวดล้อมที่ถูกเติมทัศนคติทางลบอย่างต่อเนื่อง การเป็นตัวก่อกำแพงเพื่อทำลายสัมพันธภาพของการอยู่ร่วมกัน    บุคคลมักจะเริ่มก่อกำแพงเพื่อป้องกันตัวเองจากสังคมที่ตนอาศัยอยู่

ประโยชน์ของการละลายพฤติกรรม

 (ประโยชน์ต่อบุคคล)
·   บุคคลจะแสดงความเป็นตัวเอง  เปิดเผยตัวเอง    เปิดใจมากขึ้นเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ หรือทำลายจุดยึดติดที่อาจเป็นอุปสรรคต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

(ประโยชน์ต่อกลุ่ม)    
·         เกิดความเข้าใจธรรมชาติของบุคคลในกลุ่มงานเดียวกัน  สามารถตอบสนองความเคลื่อนไหวในการทำงาน ให้กลุ่มสามารถเข้าถึงกันระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าถึง ทำลายความขัดแย้งระหว่างบุคคล เห็นพฤติกรรมที่เป็นมุมมองใหม่ นอกจากภาพการทำงานปกติ กล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มมากขึ้น

(ประโยชน์ต่อองค์กร) 
·         กลุ่มงานหรือทีมงานที่มีความเข้าใจ เกิดความเหนี่ยวแน่นในการองค์กร   ความเข้าใจนี้ย่อมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในงาน ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในระดับองค์กร ยอมรับกติกา  นำไปสู่การประสานงานที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงาน

รูปแบบของการละลายพฤติกรรม
             คือการเปลี่ยนพันธนาการทางความคิด หยุดการยึดติดในภาพลักษณ์ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเน้นการเคลื่อนที่ ไม่หยุดนิ่งทั้งพฤติกรรม ภาษากาย  ภาษาพูด ความคิด  ทำกิจกรรมที่ต้องขับเคลื่อนด้วยความผ่อนคลายเป็นหลัก เพิ่มระดับจนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางสิ่งได้

ผลที่เกิดขึ้นเมื่อการปรับพฤติกรรมเสร็จสิ้น
·         บุคคลจะมีความกล้าแสดงความคิดเห็นในกลุ่มงานมากขึ้น
·         บุคคลพฤติกรรมที่เข้าถึงง่าย และพร้อมจะปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
·         เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคลมากขึ้น
·         เกิดการเรียนรู้พฤติกรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม
·         เกิดการใช้ศักยภาพเพิ่มขึ้นในมุมมองด้านต่างๆ

องค์กรที่ควรละลายพฤติกรรม
·         องค์กรขาดกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
·         องค์กรที่พบปัญหาระหว่างบุคคล มิตรภาพระหว่างบุคคล
·         องค์กรที่มีปัญหาในระบบการทำงาน
·         องค์กรที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
·         องค์กรที่มีช่องว่างและมีกำแพงระหว่างตำแหน่ง
·         องค์กรที่ขาดความสุขในการทำงาน
เป็นต้น

ข้อจำกัดที่ทำให้การละลายพฤติกรรมไม่ประสบความสำเร็จ
·         จำนวนคนมากเกินไปในการละลายพฤติกรรมต่อครั้ง
·         องค์กรที่ผู้บริหารไม่เข้าร่วมกิจกรรมหรือไม่ร่วมสังเกต
·          การละลายพฤติกรรมต้อให้เคารพความพร้อมของผู้ร่วมกิจกรรม

สิ่งที่ควรทำหลังจากละลายพฤติกรรม
·         การทำกิจกรรมสร้างทีม
·         การประชุม หรือ การระดมสมอง
·         การเปิดเวทีแสดงความเห็นในองค์กร
เป็นต้น
เทคนิคในการละลายพฤติกรรม
·         จัดสภาพแวดล้อมที่รู้สึกปลอดภัย
·         ไม่บังคับ หรือกดดันให้ปฏิบัติ


โดย อ.นิติ ยอดดำเนิน





ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blog ของอาจารย์นิติ ยอดดำเนิน

การเป็นวิทยากรของผมมีแรงบันดาลใจสำคัญจาก ความรู้สึกภายในของการเป็นผู้ให้ เรื่องบางเรื่องผมเชื่อว่าหลายคนรู้จัก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สิ่งที่เขารู้ จะมีประโยชน์กับตัวเองและคนอื่นๆ อย่างไร ผมสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างมากและพร้อมจะส่งความปราถนาดีไปยังผู้อื่นด้วยงานของผมเอง

บทความที่ได้รับความนิยม