28 พฤษภาคม 2565

รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักบริหารการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้บริหารองค์กรเอกชนในประเทศไทย โดย ดร.นิติ ยอดดำเนิน

 

 โมเดลการพัฒนาสมรรถนะนักบริหารการเปลี่ยนแปลง
ของกลุ่มผู้บริหารองค์กรเอกชนในประเทศไทย
โดย ดร.นิติ ยอดดำเนิน  


       จากภาพ เป็น โมเดลการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้บริหารองค์กรเอกชนในประเทศไทยฉบับสมบูรณ์ที่ได้มาจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถอธิบายได้ว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้บริหารองค์กรเอกชนในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

            ส่วนที่ 1 แสดงถึงสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้บริหารองค์กรเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วย (1) ด้านบริหารงานเชิงกลยุทธ์ (2) ด้านบริหารทีมงาน (3) ด้านทัศนคติเชิงบวก (4) ด้านจริยธรรมในการทำงาน (5) ด้านบริหารความรู้ภายในองค์กร (6) ด้านการสร้างเครือข่าย และ (7) ด้านเทคโนโลยี

            ส่วนที่ 2 วิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้บริหารองค์กรเอกชนในประเทศไทยให้เป็นรูปธรรม โดยสามารถอธิบายได้ ดังนี้

            1. ด้านบริหารงานเชิงกลยุทธ์ เป็นรากฐานที่สำคัญในพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่อประสิทธิภาพต่อสมรรถนะข้ออื่น ๆ โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะด้านบริหารงานเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ (1) การพัฒนาความรู้ด้านบริหารเชิงกลยุทธ์ (2) กำหนดเป้าหมายชัดเจน (3) การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ (4) วางกลยุทธ์ทางการสื่อสาร และ (5) การศึกษาองค์กรธุรกิจอื่น ๆ

            2. ด้านบริหารทีมงาน โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารทีมงาน ได้แก่ (1) การสร้างทีมนักบริหารการเปลี่ยนแปลง (2) การประชุมทีมงานอย่างสม่ำเสมอ (3) การฝึกสร้างให้เกิดทีมงานโค้ช และ (4) สร้างสัมพันธ์ภายในทีมงาน

            3. ด้านทัศนคติเชิงบวก โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านทัศนคติเชิงบวก ได้แก่ (1) การสร้างระบบรางวัล (2) การส่งเสริมให้เกิดการคิดเชิงสร้างสรรค์นำไปใช้การแก้ไขปัญหา และ (3) สนับสนุนให้เกิดกระบวนการคิดเชิงบวก

            4. ด้านจริยธรรมในการทำงาน โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหาร        การเปลี่ยนแปลงในด้านจริยธรรมในการทำงาน ได้แก่ (1) การพัฒนาเชิงคุณธรรมจริยธรรมสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร (2) การส่งเสริมความรักองค์กร และ (3) สร้างความยุติธรรม และเป็นกลาง

            5. ด้านบริหารความรู้ภายในองค์กร โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านบริหารความรู้ภายในองค์กร ได้แก่ (1) การฝึกอบรมทฤษฎีและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (2) สร้างระบบการจัดการความรู้ แบ่งปันความรู้ (3) พัฒนาข้อมูลเพื่อสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (4) สร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์

            6. ด้านการสร้างเครือข่าย โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านการสร้างเครือข่าย ได้แก่ (1) การส่งเสริมค่านิยมและสร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม และ (2) การขยายกลุ่มทีมเครือข่าย

             7. ด้านเทคโนโลยี โดยวิธีการพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารการเปลี่ยนแปลงในด้านการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ได้แก่ (1) การมุ่งพัฒนาการเรียนรู้แบบออนไลน์    (2) การส่งเสริมพัฒนาให้รู้เท่าทันเทคโนโลยี (3) เชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้ต่อเนื่อง และ (4) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blog ของอาจารย์นิติ ยอดดำเนิน

การเป็นวิทยากรของผมมีแรงบันดาลใจสำคัญจาก ความรู้สึกภายในของการเป็นผู้ให้ เรื่องบางเรื่องผมเชื่อว่าหลายคนรู้จัก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สิ่งที่เขารู้ จะมีประโยชน์กับตัวเองและคนอื่นๆ อย่างไร ผมสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างมากและพร้อมจะส่งความปราถนาดีไปยังผู้อื่นด้วยงานของผมเอง

บทความที่ได้รับความนิยม