27 สิงหาคม 2556

ปัญหาของการสื่อสาร




แก้ปัญหาของการสื่อสารด้วยใจ

หลายองค์กรมักพูดถึงปัญหาด้านการสื่อสารที่ตนเองพบปัญหามานาน... เรื่องเดียวที่อยากพูดถึงในวันนี้คือ เรื่องช่องทางสำหรับการให้ "ข้อมูลย้อนกลับ"

ปกติเราทราบกันดีอยู่แล้วว่า องค์ประกอบของการสื่อสาร คือต้องมี "ผู้ส่งสาร" และ "ผู้รับสาร" ระหว่างทางก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลและช่องทางส่งสาร ที่ทำให้ "ผู้รับสาร" เข้าถึงข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหน แต่การสื่อสารจะไม่สมบูรณ์เลยถ้า ผู้รับสารไม่มีช่องทางสำหรับการให้ "ข้อมูลย้อนกลับ" เพราะข้อมูลย้อนกลับนั้นจะแสดงให้เห็นว่าการสื่อสารเริ่มจะสมบูรณ์แล้วและบางครั้ง "ผู้ส่งสาร" ก็จะกลายเป็น "ผู้รับสาร" ตัว "ผู้รับสาร" เองก็สามารถแปลงร่างเป็น "ผู้ส่งสาร" อย่างปฏิเสธไม่ได้

"เพื่อแก้ปัญหาเราควรเปิดช่องทางการสื่อสารด้วยหัวใจ"

วันนี้ขอเสนอ 2 ช่องทางการสื่อสารที่ง่ายต่อการแก้ไข

1. ช่องทางด้านทัศนคติข้อมูล (Attitude) ถ้าผู้ส่งสารและผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อข้อมูล การต่อยอด การแสดงความสนใจคงไม่มากพอที่จะให้ข้อมูลย้อนกลับ ถือว่าเป็นการปิดช่องทางการให้ข้อมูลย้อนกลับ ตั้งในใจความรู้สึก

2. ช่องทางด้านความสัมพันธ์ (Relationship) ผู้ส่งสารและผู้รับสารขัดแย้งกัน คงเป็นเรื่องยากที่จะทำลายกำแพงการสื่อสารนั้น ผู้ส่งสารก็ไม่อยากเล่า ผู้รับสารก็ไม่อยากฟัง เพราะทั้งคู่ไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน องค์กรใด เจอปัญหาเรื่องการสื่อสารที่เกิดจากความสัมพันธ์ก็แก้ให้ตรงจุดก่อนช่องทางนี้เป็นปัญหาตั้งแต่เริ่มส่งสาร คงหวังจะเห็นข้อมูลย้อนกลับได้ยาก

สรุป การให้ เปิดโอกาสให้มี "ข้อมูลย้อนกลับ" ในทุกๆ เวทีของการสื่อสารจะเป็นการเสริมสร้างพลังของการสื่อสารให้มากขึ้นเช่นกัน

CR: https://nitispeaker.blogspot.com
นิติ ยอดดำเนิน 

22 พฤษภาคม 2556

แนวคิดละลายพฤติกรรม (เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร)


แนวคิดละลายพฤติกรรม
กิจกรรมละลายพฤติกรรมคืออะไร   
        กิจกรรมละลายพฤติกรรม  คือ  กระบวนการเชิงจิตวิทยาที่อออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสเปิดใจ ทำลายกำแพงกั้นความสุขของการอยู่ร่วมกัน  แสดงความเป็นตัวเอง  แสดงตัวตน ทำความรู้จักและเปิดเผยตัวเองออกมาให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มได้รู้จักกันมากขึ้น ถือเป็นกิกรรมเริ่มต้นที่ต้องทำก่อนเริ่มกิจกรรมอืนๆ
ทำไมจึงต้องละลายพฤติกรรม
         เป็นธรรมชาติบุคคล  เมื่อบุคคลได้เข้ามาสู่สถานที่ใหม่หรือสังคมใหม่  มักจะสร้างกำแพงของตัวเองเพื่อป้องกันตัวเอง ไม่เปิดตัวเองสู่สั่งคมใหม่ รู้สึกไม่ปลอดภัย  ปฏิเสธการแสดงความคิดเห็น ไม่เชื่อมั่น ฯลฯ   หรือบางครั้ง เหตุการณ์ สภาพแวดล้อมที่คงที่ ไม่เคลื่อนไหว บางสภาพแวดล้อมที่ถูกเติมทัศนคติทางลบอย่างต่อเนื่อง การเป็นตัวก่อกำแพงเพื่อทำลายสัมพันธภาพของการอยู่ร่วมกัน    บุคคลมักจะเริ่มก่อกำแพงเพื่อป้องกันตัวเองจากสังคมที่ตนอาศัยอยู่

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blog ของอาจารย์นิติ ยอดดำเนิน

การเป็นวิทยากรของผมมีแรงบันดาลใจสำคัญจาก ความรู้สึกภายในของการเป็นผู้ให้ เรื่องบางเรื่องผมเชื่อว่าหลายคนรู้จัก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สิ่งที่เขารู้ จะมีประโยชน์กับตัวเองและคนอื่นๆ อย่างไร ผมสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างมากและพร้อมจะส่งความปราถนาดีไปยังผู้อื่นด้วยงานของผมเอง

บทความที่ได้รับความนิยม